Description
|
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ โดยทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จากการตอบแบบสอบถามเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (SUT-OV-001) จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทำการตรวจวินิจฉัย 3 วิธี ได้แก่ Modified Formalin Ethyl-Acetate Concentration Technique (FECT), Mini Parasep Sovent-Free Parasite Concentration Technique (MPSF) และวิธีชีวโมเลกุล (Polymerase Chain Reaction: PCR) ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับร้อยละ 40.0 ความชุกรวมของการติดพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 13.33 ความหนาแน่นรวมของการติดพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 29.49 ผลการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิ ด้วยวิธี FECT พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 5 ราย ได้แก่ รหัส K021, Y007, Y008, Y010 และ Y026 วิธี MPSFC พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 3 ราย ได้แก่ รหัส K021, Y010 และ Y026 และวิธีทางชีวโมเลกุล (PCR) พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 2 ราย ได้แก่ รหัส K010 และ Y007 เมื่อนำข้อมูลทั้งสามวิธีมาวิเคราะห์หาค่าคาดหมาย ได้แก่ Sencitivity, Specificity และ Positive ? Negative predictive value พบว่าวิธี MPSFC มีค่า Sencitivity, Positive ? Negative predictive value สูงที่สุด และวิธี FECT มีค่า Specificity สูงที่สุด เมื่อพิจารณาวิธีการตรวจวินิจฉัย โดยใช้สถิติ t-test พบว่าทั้งสามวิธีไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวิธี MPSF เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการวินิจฉัย โรคพยาธิใบไม้ตับ ด้วยการประหยัดเวลาในการเตรียม ราคาถูก ระยะสั้น และปลอดภัยมากกว่าวิธี FECT ส่วนวิธีทางชีวโมเลกุล เป็นวิธีที่สามารถยืนยันผลการตรวจทางปรสิตวิทยาได้ |