Title ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการใช้พลาสติกในโรงอาหารบริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด
Creator นางสาววนิชชา เหล่าฤทธิ์
Description เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกพบปัญหาขยะพลาสติกปริมาณมาก ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นระยะเวลานาน ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ผู้ศึกษาเล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการใช้พลาสติกในโรงอาหารบริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการใช้พลาสติก และเสนอแนะแนวทางการลดการใช้พลาสติกในโรงอาหารบริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้การสำรวจพื้นที่จริง จัดทำแบบประเมินความเป็นไปได้ในการลดการใช้พลาสติก และแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาพบว่า มีรายการพลาสติกที่ใช้ในโรงอาหาร 7รายการ จากแบบประเมินรายการที่มีความเป็นไปได้ในการลดปริมาณการใช้ได้มากที่สุด คือ ถุงหูหิ้ว ช้อนตักไอศกรีม ช้อนพลาสติก หลอด แก้วไอศกรีม ถุงแกง กล่องโฟม ตามลำดับ การรวบรวมแบบสำรวจ จำนวน70ชุด 70คน พบว่า ผู้ใช้บริการโรงอาหารบริษัทฯที่จำแนกตามเพศ พบว่าเป็นเพศชาย คิดเป็น 63% เพศหญิง คิดเป็น 37% จำแนกตามอายุพบว่ามีอายุช่วง 15-30 ปี คิดเป็น 37% รองลงมามีอายุช่วง 31-40 ปี คิดเป็น 27% อายุช่วง 41-50 ปี คิดเป็น 27% และอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็น 9% ตามลำดับ จำแนกตามหน่วยงาน พบว่ามีหน่วยงาน SQS คิดเป็น 59% หน่วยงานอื่นๆ คิดเป็น 18% หน่วยงาน VM คิดเป็น 13% หน่วยงาน SBSC คิดเป็น 10% ตามลำดับ จำแนกตามความถี่ในการใช้บริการ พบว่ามีการใช้บริการ 5-7 วัน/สัปดาห์ คิดเป็น 52% มีการใช้บริการ 3-4 วัน/สัปดาห์ คิดเป็น 37% มีการใช้บริการ 1-2 วัน/สัปดาห์ คิดเป็น 10% มีการใช้บริการมากกว่า 7 วัน/ครั้ง คิดเป็น 1% ตามลำดับ และกลุ่มผู้ใช้บริการเคยได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของขยะพลาสติก คิดเป็น 86% กลุ่มผู้ใช้บริการเห็นด้วยว่าปัญหาขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ คิดเป็น 99% กลุ่มผู้ใช้บริการเห็นด้วยว่าการลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก คิดเป็น 100% และผู้ใช้บริการยินดีหากมีโครงการลดการใช้พลาสติกในพื้นที่โรงอาหารบริษัทฯ คิดเป็น 100% สรุปได้ว่า การลดการใช้พลาสติกในโรงอาหารบริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด มีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จสูงโดยมีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานในอนาคต ดังนี้ ควรมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกับผู้ขายในการใช้วัสดุทดแทน จัดให้มีการอบรมปัญหาขยะพลาสติก จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจ เปิดรับบริจาคถุงหูหิ้วพลาสติกและถุงอื่นๆที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และจัดให้มีการรณรงค์โดยใช้สื่อที่น่าสนใจ
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-21
2
หน้าปก 2020-03-21
3
รวมทั้งหมด 2020-03-21