Title การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรในงานก่อสร้างอาคารเก็บเมล็ดกาแฟ Amazon บริษัท เงินงาม จำกัด
Creator นางสาวณัฐชา สมอาจ
Description โครงการการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรในงานก่อสร้างอาคารเก็บเมล็ดกาแฟ Amazon บริษัท เงินงาม จำกัด นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง เพื่อศึกษาอันตรายและการป้องกันอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในการใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพื่อจัดทำคู่มือการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบทดสอบและแบบสอบถาม โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป Microsoft Excel ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x?) ค่าสูงสุด (Max) ค่าต่ำสุด (Min) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลจากการทำโครงการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 50 คน อยู่ในช่วงอายุ 31 - 40 ปี มีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ช่วงอายุมากกว่า 40 ปี มีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และช่วงอายุ 18 - 30 ปี มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 มีเพศชาย จำนวน 41 คน คิดเป็น ร้อยละ 83 เพศหญิง มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 17 ระดับการศึกษาด้านประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีจำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 36 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22 และอนุปริญญา หรือปริญญาตรี มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14 สถานภาพสมรส มีจำนวน 33 คน คิดเป็น ร้อยละ 66 สถานภาพโสด มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และสถานภาพม่าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4 มีประสบการณ์ทำงาน 1 -5 ปี มีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 54 ประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22 ประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22 และ ไม่มีประสบการณ์ มีจำนวน 1 คิดเป็นร้อยละ 2 มีผู้ปฏิบัติงานมากกว่า 12 ชั่วโมง จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 62 มีผู้ปฏิบัติงาน 9 ? 12 ชั่วโมง มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และมีผู้ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมง มีจำนวน 4 คิดเป็นร้อยละ เป็นเป็นช่างปูน มีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26 เป็นผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22 ช่างไฟฟ้า มีจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16 กรรมกร มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14 วิศวกร มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ช่างเชื่อม มีจำนวน 5 คิดเป็นร้อยละ 10 และ หัวหน้างาน มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2 จากการประเมินการทำแบบทดสอบ ก่อน - หลัง ให้ความรู้ของกลุ่มตัวอย่างตามตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ สามารถทำแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการทำแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ ดังนี้ ก่อนการให้ความรู้ พบว่า เป็นวิศวกร จำนวน 5 คน มีคะแนนเฉลี่ย 17.8 คะแนน, หัวหน้างาน จำนวน 1 คน มีคะแนนเฉลี่ย 13 คะแนน, ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ จำนวน 11 คน มีคะแนนเฉลี่ย 16.4คะแนน, กรรมกร จำนวน 7 คน มีคะแนนเฉลี่ย 11.8 คะแนน, ช่างเชื่อม จำนวน 5 คน มีคะแนนเฉลี่ย 10.6 คะแนน, ช่างไฟฟ้า จำนวน 8 คน มีคะแนนเฉลี่ย 12.8 คะแนน และช่างปูน จำนวน 13 คน มีคะแนนเฉลี่ย 11.3 คะแนน หลังการให้ความรู้ พบว่า เป็นวิศวกร จำนวน 5 คน มีคะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน, หัวหน้างาน จำนวน 1 คน มีคะแนนเฉลี่ย 18 คะแนน, ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ จำนวน 11 คน มีคะแนนเฉลี่ย 17.8คะแนน, กรรมกร จำนวน 7 คน มีคะแนนเฉลี่ย 17.2 คะแนน, ช่างเชื่อม จำนวน 5 คน มีคะแนนเฉลี่ย 17.2 คะแนน, ช่างไฟฟ้า จำนวน 8 คน มีคะแนนเฉลี่ย 16.7 คะแนน และช่างปูน จำนวน 13 คน มีคะแนนเฉลี่ย 16.6 คะแนน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
หน้าปก 2020-03-20
2
โปสเตอร์ 2020-03-20
3
เอกสารอ้างอิง 2020-03-20
4
2020-03-20
4
สารบัญตาราง 2020-03-20
5
สารบัญรูปภาพ 2020-03-20
6
บทคัดย่อ 2020-03-20
7
สารบัญ 2020-03-20
8
บทที่ 1 2020-03-20
9
บทที่ 2 2020-03-20
10
บทที่ 3 2020-03-20
11
บทที่ 4 2020-03-20
12
ภาคผนวก 2020-03-20