Description
|
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประหยัดต้นทุนในระยะยาว โดยการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ของโครงการในครั้งนี้มีระยะของโครงการ 25 ปี ตามอายุของเซลล์แสงอาทิตย์
จากการศึกษาทางสถิติในประเทศไทยพบว่าการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่ที่ 178,602 GWh และปัจจุบันพลังงานนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมากขึ้นทุกที เชื้อแพลิงต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วยและยังมีผลให้ต้นทุนการประกอบกิจการต่าง ๆ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงานต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากมีการใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าสูงตามไปด้วย ซึ่งบรษัทได้ตระหนักถึงการลดต้นทุนเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และได้ลงทุนติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งนี้การศึกษาถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือกรณีที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาแบบเอียง 30 องศา และการติดตั้งบนพื้น ให้พอดีกับความต้องการใช้ภายในบริษัท จากการเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของบริษัทในหนึ่งวัน เฉลี่ย 5,153 W ในหนึ่งวัน และคำนวณออกมาได้ว่าเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องผลิตได้เท่ากับ 17.13 kW จึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน
จากผลการวิเคราะห์จากความต้องการไฟฟ้าของบริษัทสรุปได้ว่า เลือกใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 330 W จำนวน 18 แผง ซึ่งเป็นแผงที่มีขนาด 1.956 m "?" 0.992 m "?" 0.04 m เมื่อวางติดกับพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นดาดฟ้า หรือหลังคา จะกินพื้นที่ 2 ตารางเมตร ต่อ 1 แผง จะติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 18 แผง ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดได้ 330 W "?" 18 = 5,940 W พลังงานไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จากระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาในหนึ่งวันคือ 18.73 kW ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการไฟฟ้า และทำการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยต้นทุน 272,100 บาท ในการซื้ออุปกรณ์ หลังจากการติดตั้งและเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลดลงเฉลี่ยเดือนละ 5,356.31 บาท/เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 81.85 เปอร์เซ็นต์ และนำไปคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน ผลที่ได้คือโครงการจะคืนทุนใน 4 ปี 2 เดือน 9 วัน
|