Title
|
ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายหัวเชื้อราบิวเวอเรียแบบแขวนลอยสปอร์และอัตราที่ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ |
Creator
|
นางสาวเสาวลักษณ์ พยัคฆ์เดช |
Description
|
ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายหัวเชื้อราบิวเวอเรียแบบแขวนลอยสปอร์ และอัตราที่ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรียแบบแขวนลอยสปอร์ และศึกษาอัตราการใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ โดยทำการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรีย มีทั้งหมด 3 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ข้าวสาร 28 กรัมต่อ PDB 17 มิลลิลิตร กรรมวิธีที่ 2 ข้าวสาร 56 กรัมต่อ PDB 17 มิลลิลิตร และกรรมวิธีที่ 3 ข้าวสาร 100 กรัมต่อ PDB 30 มิลลิลิตร กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ถุง และตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธี Heamacytometer แล้วเลือกสูตรอาหารที่เหมาะสมนำมาผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ โดยทำการศึกษาอัตราการที่ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ มีทั้งหมด 4 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ถุง ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ใส่หัวเชื้อแบบแขวนลอยสปอร์ 0.5 มิลลิลิตร กรรมวิธีที่ 2 ใส่หัวเชื้อแบบแขวนลอยสปอร์ 1 มิลลิลิตร กรรมวิธีที่ 3 ใส่หัวเชื้อแบบแขวนลอยสปอร์ 2 มิลลิลิตร และกรรมวิธีที่ 4 ใส่ หัวเชื้อแบบแขวนลอยสปอร์ 3 มิลลิลิตร
ผลการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายหัวเชื้อราบิวเวอเรียแบบแขวนลอยสปอร์ พบว่า กรรมวิธีที่ 3 เป็นสูตรอาหารที่มีความเข้มข้นของจำนวนสปอร์มากที่สุด ให้ผลที่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 2 และกรรมวิธีที่ 1 เมื่อนำไปเปรียบเทียบด้วยวิธี LSD ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ศึกษาอัตราที่ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียพร้อมใช้ระยะเวลาในการวางบ่มที่ 7 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ 3 ใส่หัวเชื้อ 2 มิลลิลิตร มีจำนวนสปอร์ที่มากที่สุด รองลงมาคือกรรมวิธีที่ 2 ใส่หัวเชื้อ 1 มิลลิลิตร และกรรมวิธีที่ 1 ใส่หัวเชื้อ 0.5 มิลลิลิตร ตามลำดับ และพบว่า กรรมวิธีที่ 4 ใส่หัวเชื้อ 3 มิลลิลิตร มีจำนวนสปอร์ที่น้อยที่สุด และศึกษาอัตราที่ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียพร้อมใช้ระยะเวลาในการวางบ่มที่ 10 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ 2 ใส่หัวเชื้อ 1 มล. มีจำนวนสปอร์ที่มากที่สุด รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 1 ใส่หัวเชื้อ 0.5 มิลลิลิตร กรรมวิธีที่ 3 ใส่หัวเชื้อ 2 มล. และกรรมวิธีที่ 4 ใส่หัวเชื้อ 3 มิลลิลิตร มีจำนวนสปอร์ที่น้อยที่สุด ตามลำดับ และเมื่อนำระยะเวลาในการวางบ่มที่ 7 วันและ 10 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ 2 ใส่หัวเชื้อรา 1 มิลลิลิตร ระยะเวลาในการวางบ่มที่ 10 วัน มีความเข้มข้นของจำนวนสปอร์ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด ซึ่งอัตราการใช้ที่ 1 มิลลิลิตร เป็นอัตราที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ใช้ในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรียชนิดพร้อมใช้ จึงสามารถนำไปใช้งานและนำไปสนับสนุนให้แก่เกษตรกร
|
Subject
|
ชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |