Title
|
ผลของการเปรียบเทียบระหว่างคลาส Body Combat กับคลาส Body step ที่มีผลต่อความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด |
Creator
|
นายธนากร ทองรัตน์ |
Description
|
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการเปรียบเทียบระหว่างคลาส Body Combat กับคลาส Body step ที่มีผลต่อความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยคลาส Body Combat กับคลาส Body Step ที่มีผลต่อความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายระว่างคลาส Body Combat กับคลาส Body Step ที่มีผลต่อความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด เลือด ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat จำนวน 6 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling Selection) วัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Matching Group เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง Body Combat และกลุ่มทดลอง Body step กลุ่มละ 3 คน เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีเส้นพื้นฐาน (Baseline) ไม่แตกต่างกันโดยมีวิธีการ Matching Group ดำเนินการโดยนำค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก โดยทำการฝึกเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในส่วนของการทดสอบนั้นได้มีการทดสอบผลการทดลองทั้งหมด 2 ครั้งคือก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการทดลองและทำการเก็บรวบรวมผลการวิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ SPSS ด้วยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน
และเปรียบเทียบระหว่างคลาส Body Combat กับคลาส Body step ที่มีผลต่อความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat โดยการทดสอบ
ค่าที (T-test)
สรุปผลการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงการทดลอง ซึ่งใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาฝึกประสบการณ์ Jetts Fitness Save One Korat จำนวน 6 คน ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
1. พบว่าค่าเฉลี่ยของส่วนสูง น้ำหนักและอายุของกลุ่มประชากรทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 167.83 เซนติเมตร 63.83 กิโลกรัม และ 22 ปี ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของส่วนสูง น้ำหนักและอายุ ของกลุ่มทดลองทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 169.33 เซนติเมตร 66.33 กิโลกรัม และ 22 ปีตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของส่วนสูง น้ำหนักและอายุ ของกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 166.33 เซนติเมตร 61.33 กิโลกรัม และ 22 ปี ตามลำดับ
2. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ในกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 73 และ 67.67 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 7.55 และ 6.11 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ในกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 73.33 และ 68.67 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 7.09 และ 6.11 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ
3. ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ภายในกลุ่ม Body Combat มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เท่ากับ 73.00 และ 67.67 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ผลพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.026* และก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ภายในกลุ่ม Body step มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เท่ากับ 73.33 และ 68.67 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ผลพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
4. หลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เท่ากับ 67.67 ครั้งต่อนาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 6.11 ครั้งต่อนาที และหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เท่ากับ 68.67 ครั้งต่อนาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 6.11 ครั้งต่อนาที เมื่อนำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ดีกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
|
Subject
|
วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |