Title
|
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ต่อหัวกับการบริโภคยาเส้น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย |
Creator
|
นางสาววนิดา ศูนย์สันเทียะ |
Description
|
โครงงานสหกิจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลและโครงสร้างการจัดเก็บภาษียาเส้นในเขตภาคตะวันนออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทยและ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคยาเส้นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) ทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามแบบรายเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2563 รวมระยะเวลา 120 เดือน ตัวแปรอิสระ คือ รายได้ต่อหัวของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตัวแปรตาม คือ รายได้ภาษียาเส้นของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3 ซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติของ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3
ผลการศึกษาพบว่า การจัดเก็บรายได้ภาษียาเส้นของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสูบ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดร้อยเอ็ด ในช่วงปีงบประมาณ 2554 ถึงปีงบประมาณ 2563 พบว่า มีการปรับขึ้นลงของอัตราภาษียาเส้น แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1 ปีงบประมาณ 2555 ? 2556 มีการปรับขึ้นอัตราภาษียาเส้นที่ 0.001 บาทต่อกรัม เป็น 0.01 บาทต่อกรัม ช่วงที่ 2 ปีงบประมาณ 2556 ? 2560 ได้มีการปรับลดอัตราภาษียาเส้นจาก0.01 บาทต่อกรัม เป็น 0.005 บาทต่อกรัม ส่งผลให้ในช่วงปีงบประมาณ 2561 รายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลง และช่วงที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ถึงปัจจุบัน มีการปรับขึ้นอัตราภาษีจาก 0.005 บาทต่อกรัม เป็น 0.1 บาทต่อกรัม ทั้งนี้การปรับอัตราภาษีในช่วงที่ 3 ถือเป็นการปรับอัตราภาษีที่สูงที่สุด โดยมีการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า จึงส่งผลทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีในช่วงดังกล่าวมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในอัตราร้อยละ 99.55
โดยเมื่อพิจารณาถึงผลการเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษียาเส้นของทั้ง 5 จังหวัดในปีงบประมาณ 2563 พบว่า จังหวัดชัยภูมิมีการจัดเก็บภาษีสูงสุด 25.491 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ31.37 % รองลงมาคือจังหวัดบุรีรัมย์ 24.510 ล้านบาทในอัตราร้อยละ30.16 % และรองลงมาคือจังหวัดร้อยเอ็ด 21.735 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ26.75 %
สำหรับผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ต่อหัวของประชาชนกับการบริโภคยาเส้น
พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 และค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้มีค่า 2,281.33 ซึ่งหมายความว่า หากรายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มขึ้น 1 บาท จะมีผลทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 2,281.33 บาท
|
Subject
|
เศรษฐศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ |