Title มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program)
Creator จ่าสิบเอกหญิง จีรวรรณ สุขสงวน
Description บทคัดย่อ โครงการเรื่องมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program: HCP) บริษัท วีพี สตาร์ซ (2000) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทำคู่มือมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน และให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการอนุรักษ์การได้ยิน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน แบ่งเป็นแผนก ลูกโม่ 3 คน เทอร์โบ 6 คน สลัด 6 คน และห้องแป้ง 15 คน จากการประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีข้อปฏิบัติทั้งหมด 16 ข้อ ก่อนการแก้ไข มีข้อที่สอดคล้อง จำนวน 9 ข้อ ข้อที่ไม่สอดคล้อง 7 ข้อ คือ ข้อ 1 ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของลูกจ้างที่ความถี่ 500 , 1000 , 2000 , 3000 , 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ของหูทั้งสองข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Audiogram) ข้อ 2 นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบ สมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละ พื้นที่เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตราย จากเสียงดังรวมถึงจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากเสียงดังและทุกพื้นที่ที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป โดยรูปแบบและขนาดของแผนผังแสดงระดับเสียง ป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ ระวังอันตรายจากเสียงดัง และเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ข้อ 4 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินความสําคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแก่ลูกจ้างที่ทํางานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ ข้อ 5 ให้นายจ้างจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละ พื้นที่เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตราย จากเสียงดังรวมถึงจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากเสียงดังและทุกพื้นที่ที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป โดยรูปแบบและขนาดของแผนผังแสดงระดับเสียง ป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ ระวังอันตรายจากเสียงดัง และเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ข้อ 6 ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถาน ประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ข้อ 7 ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ และหลังแก้ไข มีข้อที่สอดคล้อง 12 ข้อ ข้อที่ไม่สอดคล้อง 4 ข้อคือ ข้อ 1 ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของลูกจ้างที่ความถี่ 500 , 1000 , 2000 , 3000 , 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ของหูทั้งสองข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Audiogram) ข้อ 2 นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบ สมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง ข้อ 3 ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถาน ประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ข้อ 4 ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ จากข้อ 1 และ ข้อ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้เนื่องจาก ไม่มีผลตรวจการได้ยินแบบทุกความถี่ ข้อ 3 และ ข้อ 4 ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้เนื่องจาก จัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินยังดำเนินการได้ไม่ครบปี จึงยังไม่ได้ประเมินและทบทวนมาตรการ หลังจากทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่เสียงดังพนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การทำงานในพื้นที่เสียงดังเพิ่มมากขึ้น
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2022-04-20
2
รวมทั้งหมด 2022-04-20