Title การประเมินระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน ของพนักงานแผนกก่อสร้าง และแผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา
Creator นางสาวพรธิดา โพธิ์พัด
Description โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความร้อน (WBGT) ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ จากความร้อน จัดทำข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของพนักงานแผนกก่อสร้างและ แผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยทำการประเมินระดับความร้อน (WBGT) สภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยเครื่องวัดระดับความร้อนดัชนีกระเปาะเปียกและโกลบ (Wet bulb globe temperature; WBGT) จำนวน 5 พื้นที่ และเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ สภาพแวดล้อมในการงาน และผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานแผนกก่อสร้างและแผนกปฏิบัติการ และบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน จากการประเมินระดับความร้อน (WBGT) ทั้งหมด 5 พื้นที่ มีระดับความร้อน (WBGT) ไม่เกินค่ามาตรฐานของกฎกระทรวงมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศชายทั้งหมด มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. และมีประสบการณ์ในการทำงานมากว่า 5 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีสภาพร่างกายพร้อมในการทำงานหนักกลางแดด ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 70.0 มีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 50.0 และดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 80.0 คืนก่อนวันทำงานมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และระหว่างการปฏิบัติงานมีการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ กลุ่มตัวอย่างมีอุณหภูมิร่างกายสูงสุดที่ 38 องศาเซลเซียส และได้รับความร้อนไม่เกินอุณหภูมิร่างกายจึงไม่อยู่ในระดับที่สูงจนทำให้เกิดโรคลมร้อน (Heat stroke) ซึ่งจะพบได้ในผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ พนักงานมีการสวมหมวก รองเท้า ถุงมือ ผ้าปิดหน้า และแว่นตากันแดดทั้งนี้ พนักงานมีการสวมหมวก รองเท้า ถุงมือ ผ้าปิดหน้า และแว่นตากันแดดเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดขณะปฏิบัติงาน มีสวัสดิการน้ำดื่ม/เกลื่อแร่ และเวลาพักย่อยให้พนักงานเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ จากการสัมผัสพลังงานความร้อนขณะทำงาน พบภาวการณ์เจ็บป่วยจากความร้อนอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ได้แก่ มีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย อาการกระหายน้ำ ปากแห้ง หรือคอแห้ง มีอาการ ปวดหัวตุบ ๆ หน้ามืด ความดันต่ำ มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือเกร็ง หรือเป็นตะคริว โดยเฉพาะที่ขา แขน หน้าท้อง และมักมีอาการชัก วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้ามืด หรือเป็นลมหมดสติ ซึ่งเป็น ผลกระทบที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดอาการที่รุนแรงตามมา ส่วนสาเหตุที่ไม่พบผลต่อสุขภาพกาย อาจเนื่องมาจากพนักงานสามารถที่จะหยุดพักเหนื่อยและดื่มน้ำได้ตามเวลาและปริมาณที่ตนเองต้องการ ทำให้การทำงานในสภาพอากาศร้อนจึงไม่เกิดอาการเนื่องจากความร้อนในระดับที่รุนแรง ประกอบกับสถานที่ทำงานเป็นที่โล่งแจ้ง มีลมธรรมชาติช่วยในการระเหยของเหงื่อ จึงช่วยในการลดอุณหภูมิของร่างกาย โดยสรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความร้อนในสภาพแวดล้อมการทำงาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานแผนกก่อสร้างและแผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา ดังนั้นหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยควรตระหนักถึงปัญหานี้และควรมีการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของพนักงาน กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานในสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อไป
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2022-04-20
2
รวมทั้งหมด 2022-04-20