Title มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน บริษัท โคราช ไซซัน จำกัด
Creator นางสาวสุภัทรา ปลอดกระโทก
Description โครงการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน บริษัท โคราช ไซซัน จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2561 และจัดทำคู่มือมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน พร้อมกับเสนอแนะแนวทางหรือวิธีการควบคุมเสียงดังในพื้นที่การทำงาน และให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดจากการทำงานในที่ที่มีเสียงดังและผลเสียที่จะเกิดกับตัวพนักงาน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14 คน แบ่งเป็นแผนก MACHINE จำนวน 6 คน และแผนก FINISHING (TRY OUT) จำนวน 8 คน จากการประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีข้อปฏิบัติทั้งหมด 16 ข้อ ก่อนการแก้ไข มีข้อที่สอดคล้อง จำนวน 9 ข้อ ข้อที่ไม่สอดคล้อง จำนวน 7 ข้อ คือ 1. นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน 2. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 6 3. นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง 4. เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเพื่อให้ระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงน้อยกว่า 85 เดซิเบลเอ 5. ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ 6. ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถาน ประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง 7. ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ และหลังการแก้ไข มีข้อที่สอดคล้อง จำนวน 12 ข้อ ข้อที่ไม่สอดคล้อง จำนวน 4 ข้อ คือ 1. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 6 2. เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเพื่อให้ระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงน้อยกว่า 85 เดซิเบลเอ 3. ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถาน ประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง 4. ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ และไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้เนื่องจาก 1. การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างเป็นเพียงการทดสอบสมรรถภาพประจำปีเท่านั้นและยังไม่มีมาตรการการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำ หากพบความผิดปกติ 2. เนื่องจากลักษณะงานที่จำกัดจึงไม่สามรถเปลี่ยนงานหรือหมุนเวียนงานให้ลูกจ้างได้ 3. การจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินยังดำเนินการได้ไม่ครบปี จึงยังไม่มีการประเมินและทบทวนมาตรการ และได้จัดทำคู่มือมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน บริษัท โคราช ไซซัน จำกัด นโยบายอนุรักษ์การได้ยิน และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง จากผลการอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน พบว่า คะแนนในการทำแบบทดสอบก่อนการอบรมเฉลี่ยอยู่ที่ 7.28 คิดเป็นร้อยละ 72.8 และคะแนนในการทำแบบทดสอบหลังการอบรมเฉลี่ยอยู่ที่ 9.35 คิดเป็นร้อยละ 93.5 มีผู้ผ่านเกณฑ์การทำแบบทดสอบก่อนการอบรมทั้งหมด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 42.85 และมีผู้ผ่านเกณฑ์การทำแบบทดสอบหลังการอบรมทั้งหมด 14 คน คิดเป็นร้อยละ 100
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2022-04-20
2
รวมทั้งหมด 2022-04-20