Title การประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
Creator นายพรรธน์ชญมน รักค้า
Description การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมาและเพื่อตรวจประเมินลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำ 30 ตู้ ภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มาวิเคราะห์หาค่าการตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH), การตรวจของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS), การตรวจความกระด้างของน้ำ , การตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และทำการสำรวจสุขลักษณะสุขาภิบาลและการดูแลรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยเปรียบเทียบกับตามเกณฑ์มาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ พบว่า สภาพสุขาภิบาลของสถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ มีสภาพระดับดี แต่บริเวณรอบตู้มีฝุ่นละออง จุดจ่ายน้ำชำรุด จึงแนะนำให้ทำความสะอาดบริเวณรอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ รางน้ำ ฝุ่นบนหลังตู้และการซ่อมแซมจุดจ่ายน้ำดื่มที่ชำรุด และผลการศึกษาคุณภาพของน้ำดื่มที่ผลิตจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า การตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ด้วยเครื่อง pH Meter ซึ่งกำหนดมาตรฐานของค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต้องอยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ซึ่งมีตู้น้ำหยอดเหรียญที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 25 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 83.34 และที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 5 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 16.66 ซึ่งตู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 ตู้ เกิดจากน้ำที่มีมลพิษหรือพบแบคทีเรียในอยู่น้ำ และการตรวจวิเคราะห์ความกระด้างของน้ำ ด้วยชุดทดสอบความกระด้างของน้ำ ได้กำหนดค่ามาตรฐานของความกระด้างต้องไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีตู้น้ำหยอดเหรียญที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 26 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 86.67 และไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 4 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งตู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 4 ตู้ อาจเกิดจากน้ำดื่มที่มีหินปูนละลายอยู่มากจะมีความกระด้างสูง จึงไม่เหมาะกับการดื่ม และการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ด้วยเครื่อง TDS Meter ได้กำหนดค่ามาตรฐานปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ผ่านเกณฑ์ 27 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 90 และไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 3 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 10 ซึ่งตู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 ตู้ เกิดจากน้ำอาจมีรสเค็มและอาจมีจุลินทรีย์ที่สามารถแพร่กระจ่ายโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำได้ ยิ่งค่า TDS สูงมากการบริโภคน้ำยิ่งไม่ปลอดภัย และการตรวจวิเคราะห์เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยน้ำยาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ได้กำหนดค่ามาตรฐานของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิกรัม ซึ่งมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 30 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 100
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2024-04-19
2
รวมทั้งหมด 2024-04-19